วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

การติดตั้งระบบเครือข่าย



ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ

1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN)

เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ

2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN)

เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบ เครือข่ายแบบ MAN

3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN)

เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม

4. เครือข่ายระหว่างประเทศ (International Network )

เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อระหว่างประเทศ โดยใช้สายเคเบิล หรือ ดาวเทียม

ระบบเครือข่ายอิเทอร์เน็ต

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์ เน็ต

    อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้า ด้วยกัน ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถสื่อสารถึงกันได้ ภายในเวลาอันรวดเร็ว ช่วยประหยัดทรัพยากรและที่สำคัญอินเตอร์เน็ตคือคลังสมองอันยิ่งใหญ่หรือห้อง สมุดโลกที่ทุกคนสามารถค้นคว้าหาความรู้ข้อมูล ข่าวสารได้โดยไม่ต้องเดินทางไปยังแหล่งความรู้นั้น
  
    ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต พอสรุปได้ดังนี้
1.    ด้านการศึกษา (Tele Education) สำหรับผู้ที่อยู่ห่างไกลจาแหล่งศึกษาหรือผู้ที่สนใจจะลงทะเบียนเรียนในต่าง ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ อังกฤษ ฯลฯ สามารถเรียนผ่านอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งเราเรียกว่า การศึกษาทางไกล กลายเป็นทางเลือกใหม่ในการศึกษาทุกระดับ ซึ่งการศึกษาผ่านทางอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนี้ เป็นการศึกษาแบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive) สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
2.    โฮมเพจกับการโฆษณา เป็นการโฆษณาสินค้าหรือธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต บริษัท หรือห้างร้านที่ทำธุรกิจบนดินเตอร์เน็ตจะจัดทำโฮมเพจของตนแล้วฝากไว้บน อินเตอร์เน็ต ทำให้การซื้อขาย และใช้บริการผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก
    การทำธุรกิจการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-money) การซื้อขายสินค้า หรือบริการผ่านอินเตอร์เน็ต จะมีการชำระหรือจ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการนั้น ๆ หรือผ่านบัตรเครดิตของผู้ซื้อแต่ต้องระมัดระวังเรื่อง การถอดรหัสบัตรเครดิตไปใช้แทนเจ้าของบัตรนั้น ๆ
3.    ด้านความมั่นคงปลอดภัยของประเทศอินเตอร์เน็ตจะช่วยในการสื่อสารสืบค้น ข้อมูล และใช้ระบบฐานข้อมูลประวัติอาชญากรร่วมกันได้ เช่น การส่งข้อมูลประวัติของอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น
4.    ด้านธุรกิจ (E-Commerce) โดยเฉพาะธุรกิจได้มีการนำอินเตอร์เน็ตเข้ามาเป็นอันมาก ดังต่อไปนี้
      4.1    ด้านการธนาคาร (E-Banking) ธนาคารได้จัดทำระบบออนไลน์บนเครือข่ายที่ช่วยให้สามารถสอบถามยอดเงินและโอน เงินได้อย่างรวดเร็ว มีการติดต่อสื่อสาร และมีข้อมูลบนเว็บเพจของทุกธนาคาร
      4.2    โฮมเพจกับการโฆษณา เป็นการโฆษณาสินค้าหรือธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต บริษัท หรือห้างร้านที่ทำธุรกิจบนดินเตอร์เน็ตจะจัดทำโฮมเพจของตนแล้วฝากไว้บน อินเตอร์เน็ต ทำให้การซื้อขาย และใช้บริการผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก
      4.3    การทำธุรกิจการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-money) การซื้อขายสินค้า หรือบริการผ่านอินเตอร์เน็ต จะมีการชำระหรือจ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการนั้น ๆ หรือผ่านบัตรเครดิตของผู้ซื้อแต่ต้องระมัดระวังเรื่อง การถอดรหัสบัตรเครดิตไปใช้แทนเจ้าของบัตรนั้น ๆ
5.    การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่ได้รับจากเครือข่าย อินเตอร์เน็ต คือ อีเมล์ (E-mail : Electronic Mail) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยให้ประหยัด สะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถพูดคุยกันได้เหมือนอยู่ใกล้กัน
6.    การประชุมทางไกล (Tele Conference) เป็นการประชุมของบุคคลที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถานที่ โดยอาศัยระบบโทรคมนาคมซึ่งสื่อสารได้ทั้งตัวอักษร เสียงและภาพพร้อมกัน

    ภัยอินเตอร์เน็ต
      ทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งใดก็ตามที่ได้คุณประโยชน์ก็ย่อมจะมีโทษในตัวมัน เองสังคมมนุษย์ก็เช่นกันย่อมมีทั้งคนดีและคนเลวปะปนกันไป อินเตอร์เน็ตถือได้ว่า เป็นสังคมมนุษย์หนึ่งจากเกิดขึ้นจากความพยายามที่จะติดต่อสื่อสารกันของ มนุษย์โดยอาศัยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางแทนที่จะเป็นคำพูด ท่าท่าง ฯลฯ แต่อินเตอร์เน็ตเป็นสังคมของคนทั้งโลกที่ไร้พรมแดน (Globalization)
     ไม่แบ่งชั้นวรรณะย่อมเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีสิ่งไม่ดีสิ่งที่เป็นภัย แอบแผงอยู่มาก รวมทั้งคนเลวซึ่งได้แก่บรรดามิจฉาชีพ อาชญากรรม (แบบไฮเทค) ได้อาศัยอินเตอร์เน็ต เป้นที่แผงตัวและหากินบนความทุกข์ของผู้อื่น ขอเสนอมุมมองเรื่องราวอินเตอร์เน็ตในแง่ลบเพื่อเป็นอุทธาหรณ์สำหรับผู้เล่น เน็ตอยู่จะได้ระแวดระวังและไม่ตกเป็นเหยื่อของโจรไฮเทคเหล่านี้
    หลายคนคงทราบว่าในอินเตอร์เน็ตมีสิ่งยั่วยุกามารมณ์ที่ส่อไปในทาง ลามกอนาจารอยู่มาก ถึงแม้จะไม่มีผลเสียที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรง แต่ก็มีผลทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็ก ๆ ที่เป็นลูกหลานของเรา ต้องยอมรับว่ากว่า 50 % ของผู้ชายที่เริ่มใช้อินเตอร์เน็ตในครั้งแรก ๆ มักจะไปท่องหาเว็บที่มีภาพนู้ด ภาพโป้ต่าง ๆ ซึ่งถ้าเป็นการใช้เครื่องที่บ้าน ที่มีลูกหลานกำลังเรียนรู้และพัฒนาทางด้านคอมพิวเตอร์ ก็อาจจะไปเข้าเว็บไซต์เหล่านั้น โดยไม่รู้ตัว เพราะซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ใช้ในการท่องเว็บจะมีการเก็บบันทึกหมายเลขที่ อยู่ของเว็บไซต์ (URL – address) เพื่อความสะดวกในการเข้าสู่เว็บไซต์นั้นในครั้งต่อไป
    ซึ่งหมายเลขที่อยู่นี้สามารถถูกเรียกกลับขึ้นมาใช้ได้ง่าย ๆ เด็ก ๆ อาจจะเผลอไปเรียกเข้าก็จะเข้าสู่เว็บไซต์ได้ทันที และอาจจะกลับไปดูซ้ำในครั้งต่อ ๆ ไป หากผู้ปกครองละเลยนาน ๆ เข้าภาพเหล่านี้จะถูกปลูกฝังในความคิด ทำให้เด็กอาจมีพฤติกรรมการแสดงออกทางเทศกับเพศตรงข้ามที่ส่อไปในทางที่ผิด และอาจเลยไปถึงกระทำความผิดอาญาได้เมื่อโตขึ้น ภัยประเภทนี้ผลเสียจึงเกิดขึ้นในทางอ้อมโดยจะตกอยู่กับเด็กซึ่งเป็นลูกหลาน และครอบครัว
  
    ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
    คอมพิวเตอร์แต่ละระบบส่วนใหญ่จะแยกทำงานกันโดยอิสระมีเพียงระบบคอมพิวเตอร์ ที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สามารถสื่อสารกันด้วยความเร็วต่ำ จากปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และความต้องการใน การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกัน จึงทำให้เกิดโครงการอาร์พาเน็ต (ARPANET)
    โครงการอาร์พาเน็ตอยู่ในความควบคุมดูแลของอาร์พา (Advanced Research Projects Agency หรือ ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อย ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา อาร์พาทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยให้ทุนสนับสนุน แก่หน่วยงานอื่น ๆ เช่น มหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำการวิจัยและพัฒนา ในปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969)
    โครงการอาร์พาเน็ต ได้ริเริ่มขึ้น โดยเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบัน 4 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตา บาร์บารา  มหาวิทยาลัยยูทาห์ และสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จากสถาบันทั้ง 4 แห่งนี้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่างชนิดกันและใช้ระบบปฏิบัติการ ที่แตกต่างกัน
    ต่อมาเครือข่ายอาร์พาเน็ตได้รับความนิยมอย่างมาก มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐและเอกชนต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมเชื่อมต่อกับเครือข่ายนี้เพื่อประโยชน์ในการศึกษา และวิจัย
    ในประเทศไทยได้ติดต่อกับอินเตอร์เน็ตในลักษณะของการใช้บริการไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ โดยในปี พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัย สงขานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียได้ติดต่อขอใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยความร่วมมือระหว่างไทย และออสเตรเลียซึ่งการเชื่อมโยงในขณะนั้นจะใช้สายโทรศัพท์
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายยู ยูเน็ต (UUNET) ของบริษัทยูยูเน็ตเทคโนโลยี จำกัด (UUNET Technologies Co.,Ltd.) ซึ่งตั้งอยู่ที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาและในปีเดียวกันนี้ สถาบันการศึกษาหลายแห่ง เช่นสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดลบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
    ได้ขอเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทยเน็ต (THAINET) ซึ่งในปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ต ประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 สถาบัน คือ สำนักวิทยาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
    ในปีเดียวศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center หรือ NECTEC) ได้จัดตั้งเครือข่ายไทยสารซึ่งต่อมาได้ต่อกับเครือข่ายของยูยูเน็ต และในปัจจุบันไทยสารได้เชื่อมโยงกับสถาบันต่าง ๆ
    การเชื่อมต่อเข้าระบบอินเตอร์เน็ตการเชื่อมต่อเพื่อใช้ระบบอินเตอร์เน็ตโดย ทั่วไปแล้วหน่วยงานของรัฐและสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนจะให้บริการ แก่ผู้ใช้ ผู้ใช้ยังสามารถเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต โดยใช้บริการขององค์กรที่เรียกว่าผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต  Internet service provider (ISP) ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีจำนวน 18 ราย (ข้อมูลปัจจุบันศึกษาได้จาก http://ntl.nectec.or.th/internet/index/html)
  
    การแทนชื่อที่อยู่อินเตอร์เน็ต
1.    การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยตรง (Direct internet access) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยตรง ผู้ใช้จะต้องมีคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายหลักหรือแบ็กโบน (Backbone) โดยต้องมีอุปกรณ์ ที่ทำหน้าที่เป็นเกดเวย์ ในการเชื่อมต่อ สถาบันการศึกษาที่อนุญาตให้หน่วยงานอื่นใช้เครือข่ายร่วมกัน หรือผู้ที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยตรงเป็นการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายในกาติดตั้งค่อนข้างสูง แต่มีข้อดีคือการรับ-ส่งข้อมูล จะสามารถทำได้โดยตรงทำให้รับ-ส่งข้อมูลได้เร็วและมีความน่าเชื่อถือ
2.    การเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์และโมเด็ม (Dial-up access) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตประเภทนี้จะใช้สายโทรศัพท์ ที่ใช้กันตามบ้านหรือที่ทำงานทั่วไปโดยจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายโดยใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณที่เรียกว่า โมเด็ม เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่ให้บริการ เช่น ISP แล้ว คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็สามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ตเสมือนกับการต่อเชื่อม โดยตรง ข้อดีของการเชื่อมต่อประเภทนี้คือ ค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าการเชื่อมต่อโดยตรง เนื่องมาจากมีการเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการเช่าคู่สายโทรศัพท์ไป ยังต่างประเทศ

    เวิลด์ไวด์เว็บ (World wide web หรือ www)
    ในช่วงแรก ๆ การบริการข้อมูลข่าวสารจะส่งถึงกันบนโปรโตคอล telnet และใช้ ftp (file transfer protocol) เพื่อการแลกเปลี่ยนส่งไฟล์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1991 Tim Berners – Lee นักเขียนโปรแกรมที่ทำงานในสถาบัน CERN ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งยุโรป ที่ประเทศสวัติเซอร์แลนด์ ได้พัฒนาโปรแกรมเพื่อให้อินเตอร์เน็ตใช้งานได้ง่ายขึ้นและช่วยให้ผู้ใช้ สามารถสร้างเอกสารบนอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่าเว็บเพจ ที่สามารถเชื่อมโยง ไปยังเอกสารที่เกี่ยวข้องกันได้การเชื่อมโยงเอกสารนี้เรียกว่า ไฮเปอร์ลิงก์
    ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงเอกสารหนึ่งไปยังอีกเอกสารหนึ่งที่อยู่ใน คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันหรือต่างเครื่องกันที่อยู่คนละประเทศได้อย่างรวด เร็ว เครือข่ายของเอกสารเหล่านี้ประกอบกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ในการนำเสนอข้อมูลนี้บนอินเตอร์เน็ตรู้จักโดยทั่วไปว่า World Wide Web (www) หรือ W3 หรือ Web และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการเว็บเพจเรียกว่าเว็บไซต์ (Web Site)

    เว็บเพจ (Web Pages) คือ เอกสารที่เป็นไฮเปอร์เท็กส์ หรือไฮเปอร์มีเดียซึ่งไฮเปอร์มีเดียเป็นสื่อประสมต่าง ๆ ที่ใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ ภาพกราฟฟิส ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียงการสร้างเว็บเพจสามารถใช้ภาษา Hypertext Markup Language หรือ HTML ซึ่งประกอบด้วยชุดของคำสั่งที่เรียกว่าแท็ก หรือมาร์กอัป